นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๖ ได้มีการจัดตั้งสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติ จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. ๒๔๗๖ ฐานะของสภาจังหวัดมีลักษณะเป็นเพียงองค์กรตัวแทนของประชาชนรูปแบบหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่คณะกรรมการจังหวัด ยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือหน่วยปกครองท้องถิ่นตามกฏหมาย
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๑ ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัดขึ้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อแยกกฏหมายที่เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะ แต่สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฯ ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะ และบทบาทของสภาที่ปรึกษาของคณะกรรมการจังหวัดเกี่ยวกับกิจการของจังหวัด และคณะกรรมการจังหวัดไม่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามเสมอไป
จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๙๕ มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบบริหารราชการในส่วนจังหวัด สภาจังหวัดจึงเปลี่ยนบทบาทจากสภาที่ปรึกษาของคณะกรรมการจังหวัด มาเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ.๒๕๘๑
แต่เนื่องจากการดำเนินงานของสภาจังหวัดในฐานะที่ปรึกษา ที่คอยให้คำแนะนำและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของจังหวัดไม่สู้จะได้ผลสมความมุ่งหมาย จึงทำให้เกิดการปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๔๙๘ จึงมีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.๒๔๙๘ อันมีผลให้เกิด "องค์การบริหารส่วนจังหวัด" มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกจากราชการบริหารส่วนภูมิภาค
ในปี พ.ศ.2540 ได้มีการปรับปรุงกฏหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด โดยการตราพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามโครงสร้างใหม่ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันรายนามผู้ดำรงตำแหน่ง นายกองค์การบริหารจังหวัดสุพรรณบุรีที่ชื่อ – สกุลตำแหน่งระยะเวลา
การดำรงตำแหน่งหมายเหตุ๑.นายศักดา จาละนายก อบจ.สุพรรณบุรี๑๖ ธค.๒๕๔๐ – ๒ ธค.๒๕๔๑
๓ ธค. ๒๕๔๑ – ๑๐ กพ.๒๕๔๓
๑๑ กพ. ๒๕๔๓ – ๘ ธค.๒๕๔๖ ๒.นายสุวัฒน์ จันทร์สว่างนายก อบจ.สุพรรณบุรี๑๗ ธค.๒๕๔๖ – ๔ กพ.๒๕๔๗ ๓.นายบุญชู จันทร์สุวรรณนายก อบจ.สุพรรณบุรี๑๔ มีค.๒๕๔๗ – ๑๓ มีค.๒๕๕๑ ๔.นายบุญชู จันทร์สุวรรณนายก อบจ.สุพรรณบุรี๒๐ เมย.๒๕๕๑ – ๑๘ มค.๒๕๕๕ ๕.นายบุญชู จันทร์สุวรรณนายก อบจ.สุพรรณบุรี๑๗ มีค. ๒๕๕๕ – ปัจจุบัน